Evoked potential

   Evoked potential (EP) เป็นศักย์ไฟฟ้าที่วัดได้จากระบบประสาทของสิ่งมีชีวิต ที่เกิดจากกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าต่างๆ เช่น แสง, เสียง, อุณหภูมิ หรือความเจ็บ ซึ่งสามารถตรวจวัดสัญญาณได้จาก cerebral cortex, ก้านสมอง (brain stem), ไขสันหลัง และระบบประสาทส่วนปลาย

   การตรวจวินิจฉัยด้วยเทคนิค EP สามารถใช้การกระตุ้นได้หลายแบบ เช่น การกระตุ้นด้วยแสง Visual evoked potentials (VEP), การกระตุ้นด้วยเสียง Auditory evoked potentials (AEP) หรือการกระตุ้นที่ประสาทรับความรู้สึก Somatosensory evoked potentials (SSEP) เทคนิค Evoked potential ไม่ได้เน้นที่การประเมินการทำงานของสมองในภาพรวม แต่เป็นการตรวจการส่งสัญญาณประสาทโดยดูจากการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าสมองในตำแหน่งของสมองที่สอดคล้องกับสิ่งกระตุ้นชนิดนั้นๆ

   เทคนิค EP นั้นแตกต่างกับ EEG (Electroencephalogram) เพราะสัญญาณที่วัดได้มีความจำเพาะกับชนิดของสิ่งเร้า จึงถูกนำมาใช้ในการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง ทั้งสาเหตุและตำแหน่งที่ผิดปกติ รวมถึงใช้ควบคู่กับการรักษา เพื่อประเมินและวางแผนการรักษา ตลอดจนใช้ในงานวิจัย เพื่อศึกษาการทำงานของสมอง โดยเฉพาะการทดสอบเกี่ยวกับความเจ็บ (Pain-related evoked potentials) ยกตัวอย่างเช่น การศึกษาหรือประเมินผลข้างเคียงของยาระงับปวด การตรวจวินิจฉัยภาวะประสาทเสื่อม การตรวจวินิจฉัยการการบาดเจ็บของเส้ประสาท เป็นต้น


   อุปกรณ์ CHEPS (Contact Heat Evoked Potential Stimulator) thermode ของผลิตภัณฑ์ TSA2 และ PATHWAY จาก Medoc สามารถตรวจวินัยหรือตรวจประเมินเกี่ยวกับความเจ็บ ด้วยเทคนิค EP ได้ ซึ่งสามารถใช้ตรวจวินิจฉัยเส้นประสาทรับความรู้สึกเจ็บ (Nociceptor) ได้ทั้ง Myelinated A-δ fiber และ Unmyelinated C fiber สามารถใช้ได้ทั้งเทคนิค Contact Heat Evoked Potentials และ Contact Cold Evoked Potentials โดยใช้งานร่วม EEG เพื่อวัดศักย์ไฟฟ้าจากการกระตุ้น





   ผลิตภัณฑ์ของ Medoc ได้รับความไว้วางใจและได้รับการรับรองประสิทธิภาพในการตรวจวินิจฉัย จาก สถาบันวิจัย หน่วยงานทางการแพทย์ สถาบันการศึกษา ตลอดจนโรงพยาบาลหรือคลินิกชั้นนำหลายแห่งทั่วโลก


อ้างอิงจาก

https://www.medoc-web.com/cheps-for-tsa-2


https://medoc-web.com/application/pain-research/ep-evoked-potential/


Vorasith Siripornpanich. “Evaluation of attention using electroencephalography and application in children with attention deficit hyperactivity disorder.” Journal of Medicine and Health Sciences, Vol. 20 No.1 April 2013)


Lagerburg, V., Bakkers, M., Bouwhuis, A., Hoeijmakers, J. G., Smit, A. M., Berg, S. J., . . . Merkies, I. S. (2015). Contact heat evoked potentials: Normal values and use in small-fiber neuropathy. Muscle & Nerve, 51(5), 743-749. doi:10.1002/mus.24465


Hüllemann, P., Nerdal, A., Sendel, M., Dodurgali, D., Forstenpointner, J., Binder, A., & Baron, R. (2019). Cold‐evoked potentials versus contact heat‐evoked potentials—Methodological considerations and clinical application. European Journal of Pain. doi:10.1002/ejp.1389


Wu, S.-W., Wang, Y.-C., Hsieh, P.-C., Tseng, M.-T., Chiang, M.-C., Chu, C.-P., Feng, F.-P., Lin, Y.-H., Hsieh, S.-T. and Chao, C.-C. (2017). Biomarkers of neuropathic pain in skin nerve degeneration


neuropathy: contact heat-evoked potentials as a physiological signature. Pain, 158(3), pp.516–525.


Untergehrer, G., Jordan, D., Eyl, S. and Schneider, G. (2013). Effects of Propofol, Sevoflurane, Remifentanil, and (S)-Ketamine in Subanesthetic Concentrations on Visceral and Somatosensory Pain–evoked Potentials. Anesthesiology, 118(2), pp.308–317.


Lugo, A., Ferrer-Fuertes, A., Isabel Correa, L., Campolo, M., Casanova-Molla, J. and Valls-Sole, J. (2018). Clinical utility of contact heat evoked potentials (CHEPs) in a case of mentalis nerve lesion. Clinical Neurophysiology Practice, 3, pp.74–77.